วันศุกร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ขอมูล

1.ข้อมูล(data)หมายถึงอะไร
2.สารสนเทศ(information)หมายถึงอะไร
3.การประมวลผล(processing)หมายถึงอะไร
4.ข้อมูลมีกี่ประเภทอะไรบ้างจงอธิบาย
5.วิธีการประมวลผลข้อมูลโดยเครื่องคอมพิวเตอร์มีกี่วิธีอะไรบ้างจงอธิบาย
6.สารสนเทศที่ดีมีลักษณะอย่างไร
7.ขั้นตอนของการจัดการสารสนเทศมีอะไรบ้างจงอธิบาย
8.ระบบสารสนเทศ(information  system : is)หมายถึงอะไรจงอธิบาย
9.องค์ประกอบของสารสนเทศ 5 องค์ประกอบได้แก่อะไรบ้างจงอธิบาย
10.สารสนเทศมีกี่ระดับอะไรบ้างจงอธิบาย


1.ข้อมูล(data)หมายถึงอะไร
ตอบ หมายถึง ข่าวสาร เอกสาร ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับบุคคล สิ่งของหรือเหตุการณ์ที่มีอยู่ในรูปของตัวเลข ภาษา ภาพ สัญลักษณ์ต่างๆ ที่มีความหมายเฉพาะตัว ซึ่งยังไม่มีการประมวลไม่เกี่ยวกับการนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ (ไพโรจน์ คชชา, 2542) พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน (2525) ให้ความหมายของ ข้อมูล(Data) หมายถึง ข้อเท็จจริงหรือสิ่งที่ถือหรือยอมรับว่าเป็นข้อเท็จจริง สำหรับใช้เป็นหลักอนุมานหาความจริงหรือ การคำนวณ
ที่มาhttp://www.thaigoodview.com/node/31899

2.สารสนเทศ(information)หมายถึงอะไร
ตอบ สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ สารสนเทศ เกิดจากการนำข้อมูล ผ่านระบบการประมวลผล คำนวณ วิเคราะห์และแปลความหมายเป็นข้อความ อย่างเป็นระบบตามหลักวิชาการ ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้เช่น ระบบสื่อสารผ่านดาวเทียมหรือสัญญาณระบบต่างๆ การสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระบบดาวเทียม การจองตั๋วเครื่องบิน การกดเงินจาก ATM เป็นต้น
ที่มาhttp://non-krittayot.blogspot.com/2008/05/blog-post_30.html

3.การประมวลผล(processing)หมายถึงอะไร
ตอบการประมวลผล(Data Processing) เป็นการประมวลผลทางข้อมูลเป็นการนำข้อมูล ที่เก็บรวบรวมได้มาผ่านกระบวนการต่าง ๆ เพื่อแปรสภาพข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่ต้องการ เรียกว่า ข้อมูลสนเทศหรือสารสนเทศ (Information)
ที่มาhttp://www.bs.ac.th/2548/e_bs/g7/raim/in4page1.html

4.ข้อมูลมีกี่ประเภทอะไรบ้างจงอธิบาย
ตอบ
 ข้อมูลมี 2 ประเภท ได้แก่ ข้อมูลปฐมภูมิและข้อมูลทุติยภูมิ
   ข้อมูลปฐมภูมิ (primary data) คือ ข้อมูลหรือข้อเท็จจริงที่ได้จากการเก็บข้อมูลจากแหล่งข้อมูลโดยตรง เช่น ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ การสังเกต การทดลอง การทดสอบ ข้อมูลการเข้าชั้นเรียนของนักเรียนแต่ละภาคการศึกษา เป็นต้น
   ข้อมูลทุติยภูมิ (secondary data) คือ ข้อมูลหรือข้อเท็จจริงที่ได้จากการนำข้อมูลที่ผู้อื่นรวบรวมไว้ไว้อย่างเป็นระบบ มาใช้งานโดยไม่ต้องลงมือเก็บรวบรวมเอง เช่น สถิติจำนวนประชากรที่กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทยรวบรวมและตีพิมพ์เผยแพร่ ซึ่งสามารถนำเอาไปประมวลผลต่อได้ เป็นต้น
ที่มา หนังสือ รายวิชาพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ม.๑


5.วิธีการประมวลผลข้อมูลโดยเครื่องคอมพิวเตอร์มีกี่วิธีอะไรบ้างจงอธิบาย
ตอบ ขั้นตอนในการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยในการประมวลผลข้อมูลโดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน คือการนำข้อมูลเข้า (Input Data) การประมวลผล (Processing) และ การนำเสนอข้อมูล(Output Data) ซึ่งทั้ง 3 ขั้นตอนนี้ต้องทำงานต่อเนื่องกัน เราสามารถเรียกกรรมวิธีนี้ว่า “วงจรการประมวลผล” (Data Processing Cycle) 
ที่มาhttp://www.krunee.com/E_learning/content215.html

6.สารสนเทศที่ดีมีลักษณะอย่างไร
ตอบ1. สารสนเทศที่ดีต้องมีความความถูกต้อง (Accurate) และไม่มีความผิดพลาด
2. ผู้ที่มีสิทธิใช้สารสนเทศสามารถเข้าถึง (Accessible) สารสนเทศได้ง่าย ในรูปแบบ และเวลาที่เหมาะสม ตาม
ความต้องการของผู้ใช้
3. สารสนเทศต้องมีความชัดเจน (Clarity) ไม่คลุมเครือ
4. สารสนเทศที่ดีต้องมีความสมบูรณ์ (Complete) บรรจุไปด้วยข้อเท็จจริงที่มีสำคัญครบถ้วน
5. สารสนเทศต้องมีความกะทัดรัด (Conciseness) หรือรัดกุม เหมาะสมกับผู้ใช้
6. กระบวนการผลิตสารสนเทศต้องมีความประหยัด (Economical) ผู้ที่มีหน้าที่ตัดสินใจมักจะต้องสร้างดุลยภาพ
ระหว่างคุณค่าของสารสนเทศกับราคาที่ใช้ในการผลิต
7. ต้องมีความยึดหยุ่น (Flexible) สามารถในไปใช้ในหลาย ๆ เป้าหมาย หรือวัตถุประสงค์
8. สารสนเทศที่ดีต้องมีรูปแบบการนำเสนอ (Presentation) ที่เหมาะสมกับผู้ใช้ หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง
9. สารสนเทศที่ดีต้องตรงกับความต้องการ (Relevant/Precision) ของผู้ที่ทำการตัดสินใจ
10. สารสนเทศที่ดีต้องมีความน่าเชื่อถือ (Reliable) เช่น เป็นสารสนเทศที่ได้มาจากกรรมวิธีรวบรวมที่น่าเชื่อ ถือ หรือแหล่ง (Source) ที่น่าเชื่อถือ เป็นต้น
ที่มาhttp://guru.google.co.th/guru/thread?tid=418c374198be5812


7. ขั้นตอนของการจัดการสารสนเทศมีอะไรบ้าง จงอธิบาย
 ตอบ 1.การเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การเสาะหาข้อมูลหรือข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นมารวมกันซึ่งการรวบรวมข้อมูลสามารถทำได้โดยการเก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม การสัมภาษณ์ การสังเกต การป้อนข้อมูลเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
2.การตรวจสอบข้อมูล คือ การพิสูจน์ความถูต้องของข้อมูล หากพบว่าข้อมูลผิดก็ต้องทำการแก้ไข
3.การปะมวลผล คือ การกระทำของคอมพิวเตอร์กับข้อมูล ได้แก่ การรวบรวมเป็นแฟ้มข้อมูล การคำนวณ การเปรียบเทียบ การเรียงลำดับ การจัดกลุ่มข้อมูล และการจัดทำรายงาน
4.การจัดเก็บข้อมูล คือ การป้อนข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์รวมถึงการบันทึกข้อมูลไว้ในหน่วยเก็บข้อมูลสำรอง เช่น ฮาร์ดดิสก์ แฟลชไดร์ฟ เป็นต้น
5.การทำสำเนาข้อมูล คือ การคัดลอกข้อมูลจากแฟ้มต้นฉบับและบันทึกไว้ในหน่วยเก็บข้อมูลสำรอง เช่น ซีดีรอม เพื่อใช้ในกรณีที่เครื่องคอมพิวเตอร์เสียหาย ซึ่งอาจทำให้มีข้อมูลสูญหายไปได้
6.การสื่อสารข้อมูล คือ การนำข้อมูลและสารสนเทศมาเผยแพร่หรือส่งต่อให้กับผู้ใช้งานที่อยู่ห่างไกล
7.การปรับปรุงข้อมูล คือ การแก้ไขข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน ไม่ล้าสมัย เพื่อให้ข้อมูลมีความเหมาะสมกับการทำงาน
ที่มา  หนังสือ รายวิชาพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ม.๑

8. ระบบสารสนเทศ (Information Sysetem : Is) หมายถึงอะไร
 ตอบ ระบบที่สามารถจัดการข้อมูลตั้งแต่การรวบรวมและตรวจสอบข้อมูล การประมวลผลข้อมูล การปรับปรุงข้อมูล รวมถึงการดูแลรักษข้อมูล ได้แก่ การจัดเก็บข้อมูล การทำสำเนาข้อมูล การปรับปรุงข้อมูล ตลอดจนการศึกษาข้อมูล เพื่อให้ได้สารสนเทศที่ถูกต้องและทันต่อความต้องการใช้งานของผู้ใช้ และผู้ใช้สามารถนำสารสนเทศที่ได้ไปประกอบการตัดสินใจอย่างมีประสิทธิภาพ
ที่มา หนังสือ รายวิชาพื้นฐานเทคโนโลยัสารสนเทศและการสื่อสาร ม.๑

9. องค์ประกอบของสารสนเทศ 5 องค์ประกอบได้แก่อะไรบ้าง จงอธิบาย
 ตอบ ได้แก่  ฮาร์ดแวร์   ซอฟต์แวร์   ข้อมูล บุคลากร  และขั้นตอนการปฏิบัติงาน 
  •        ฮาร์ดแวร์เป็นองค์ประกอบสำคัญ หมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์รอบข้าง
  •        ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เป็นชุดคำสั่งที่สั่งให้ฮาร์ดแวร์ทำงาน
  •        ข้อมูล เป็นส่วนที่จะนำไปจัดเก็บในเครื่องคอมพิวเตอร์
  •        บุคลากรเป็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับงานคอมพิวเตอร์
  •        ขั้นตอนการปฏิบัติงาน เป็นสิ่งที่จะต้องเข้าใจเพื่อให้ทำงานได้ถูกต้องเป็นระบบ
ที่มา  http://www.thaigoodview.com/

10. สารสนเทศมีกี่ระดับ อะไรบ้าง จงอธิบาย
 ตอบ สารสนเทศมี 3 ระดับ ดังนี้
   1. ระดับบน เป็นสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูงขององค์การที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับกับแผน นโยบาย พันธกิจ เป้าประสงค์ เป้าหมาย
และกลยุทธ์ขององค์การ
   2. ระดับกลาง เป็นสารสนเทศสำหรับผู้จัดการ หรือผู้บริหารระดับกลางขององค์การที่มีการแปลงกลยุทธ์ ที่จะนำ ไปสู่การบรรลุเป้าหมายของ
องค์การ โดยแปลงกลยุทธ์ออกมาเป็นแนวปฏิบัติ หรือแผนปฏิบัติงาน หรือกิจกรรมต่างๆ
   3. ระดับล่าง เป็นสารสนเทศของผู้ปฏิบัติงานที่มีกรรมวิธีการดำเนินงาน หรือการปฏิบัติงานตามแนวทางที่ได้ มีการกำหนด โดยผู้บริหารระดับกลาง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น